By 5/8 [Math-Eng]

By 5/8 ... Dear Gun Arm Eve Por

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มลพิษทางน้ำ


แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ

1.แหล่งชุมชน
น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนนับว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เป็นบริเวณที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียมาก น้ำเสียจากชุมชนเกิดจากการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำทิ้งที่มาจากห้องน้ำ น้ำซักผ้า ซักล้าง ปรุงอาหาร ขับถ่าย การชำระร่างกาย จากที่อยู่อาศัยทุกประเภท อาคารบ้านเรือน อาคารชุด ตลาดสด ร้านค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร หอพัก โรงพยาบาล สถานพยาบาล โรงแรม สถานบริการซ่อมรถยนต์ น้ำทิ้งจะถูกปล่อยมาจากท่อน้ำโสโครกซึ่งส่วนใหญ่จะไหลลงสู่แม่น้ำโดยไม่มีการบำบัดก่อน นอกจากน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำแล้งน้ำทิ้งจากชุมชนปริมาณมากที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำในลักษณะที่มีตำแหน่งไม่ชัดเจน เช่น น้ำที่เกิดจากการล้างพื้นผิวตามอาคารบ้านเรือน น้ำล้นผิวถนน น้ำที่ชะล้างตะกอนดินทรายจากบริเวณที่มรการก่อสร้างถนนและบ้านเรือน

แล่งชุมชนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย นับเป็นบริเวณที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียมากที่สุดในสภาพปัจจุบัน จากการรายงานของการประปานครหลวง ได้ทำการประเมินน้ำประปาที่ใช้แต่ละวันที่ปล่อยทิ้งและกลายสภาพเป็นน้ำทิ้ง ประมาร 85 เปอเซ็นต์ได้นำสิ่งปฏิกูลเพิ่มเติมลงสู่แหล่งน้ำอีกด้วย น้ำทิ้งเหล่านี้ล้วนประกอบไปด้วนสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากร่างกาย ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง และเศษวัสดุชนิดอื่นๆปะปนผสมรวมมาด้วย และทำให้เกิดความเน่าเสียได้ ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วภายในบริเวณพื้นที่ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปริมารน้ำทิ้งที่ทำให้เกิดการศึกษาแล้วในพื้นที่หลายแห่งดังเช่นเทศบาลเมืองสมุทรสาคร ประมาณ 5,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จึงอาจกล่าวได้ว่าขนาดของชุมชนนั้น นับเป็นปัจจัยประการสำคัญในการปลดปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ และเท่าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในประเทศก็คือ ชุมชนเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ จึงมีโอกาสทำให้น้ำเสียแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำได้โดยตรง ผลที่ติดตามมาในระยะยาวก็คือ พบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้กลับลดปริมาณลงต่ำลงเป็นอย่างมาก โดยบางแห่งมีค่าเหลือน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ามีสารมลพิษมากมายหลายประเภทปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียชุมชน เช่น สารอินทรีย์ต่างๆ เชื้อโรค ตะกอนดินทราย สารพิษพวกยาฆ่าแมลง ตะกั่ว ผงซักฟอก น้ำมัน จากยานพาหนะ สารพิษที่อออกมาจากยานพาหนะ เศษอาหาร สบู่ อุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้ง การทิ้งเศษวัสดุ และขยะต่างๆลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ส่วนใหญ่ลักษณะน้ำทิ้งของชุมชนมีค่า BOD ประมาณ 150-250 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 6 ถึง 8 คือไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป สารแขวงลอยในน้ำทิ้งประมาร 20-100 มิลลิกรัม/ลิตร ถึงแม้เป็นน้ำทิ้งที่มีสารมลพิษที่ไม่มาก แต่เนื่องจากมีปริมาณมาก และมีแหล่งกำเนิดมากมายหลายแห่งอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทำให้ลักษณะการเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกิดจากน้ำทิ้งจากชุมชน มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และยากต่อการควบคุมแก้ไข

2.โรงงานอุตสาหกรรม
สารมลพิษ สารปนเปื้อนในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานทำอาหารกระป๋อง โรงานน้ำตาล โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตเครื่องดื่ม จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารอินทรีย์จำนวนมาก ทำให้ค่า BOD ของน้ำทิ้งโรงงานประเภทนี้มีค่าสูงมาก คือ มีค่า BOD ตั้งแต่ 700 ถึง 70,000 มิลลิกรัม/ลิตร

โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานผลิตสารกำจัดสัตรูพืช โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานย้อมผ้า โรงงานฟอกหนัง จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารเจือปนอยู่มาก

โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โรงงานถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมน้ำมันจะปล่อยน้ำทิ้งที่มีอุณหภูมิสูงถึง 60 องศา อาจมีกัมมันตภาพรังสี และน้ำมันปนเปื้อนได้ การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่มีน้ำทิ้งที่มีตะกอนดินทรายมาก

น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทางท่อน้ำทิ้งจึงสะดวกถ้าต้องการควบคุมและนำไปบำบัดก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำ ลักษณะของน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมจะมีค่า BOD สูงมาก มีค่าความเป็นกรและด่างสูง มีสารแขวงลอยมมาก ดังนั้นถ้าน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ จะมีผลต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำอย่างรุนแรง แต่ถ้ามีการควบคุมดูแล และปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ไม่ยากต่อการป้องกันมลพิษทางน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ เวลานี้โรงงานอุตสาหกรรมมักลักลอบปล่อยน้ำทิ้งที่ผ่านการใช้จากโรงงานซึ้งเป็นน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการขจัดความสกปรกตามมาตรฐานน้ำทิ้ง

รวมแล้วโรงงานอุตสาหกรรมทั้งมวลใช้น้ำในปริมาณร้อยละ 3 ของการใช้น้ำทั้งหมดแต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนทำให้น้ำเน่าเสียถึงร้อยละ 30 ของน้ำเสียทั้งหมดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีความเข้มข้นของสารพิษสูง ถ้าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทันทีโดยไม่มีการกำจัดน้ำเสียก่อน จะมีอิทธิพลทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นมีสภาพที่เน่าเสียได้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ได้แก่ โรงงานน้ำตาล เบียร์ สุรา เครื่องดื่ม กระดาษ และโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ สารมลพิษที่ปล่อยออกมาจะเป็นกลุ่มของสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในน้ำ จึงเป็นเหตุให้ก๊าซออกซิเจนในน้ำลดลงจนหมดได้อย่างรวดเร็ว โรงงานที่มีฟอกหนัง ชุบโลหะ ฟอกย้อม ฯลฯ ทำให้น้ำทิ้งมีสารพิษ และโลหะหนักเจือปนอยู่มากเป็นอันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตในน้ำ บางชนิดยังสามารถสะสมและถ่ายทอดผ่านทางห่วงโซ่อาหารได้ด้วย

3.เกษตรกรรม
ได้แก่ สวน ไร่ นา ฟาร์ม น้ำที่ระบายออกจากบริเวณที่มีการเกษตร ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบทางเคมีที่ชะล้างมาจากผิวดิน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และวัตถุที่มีพิษที่ใช้ในการเกษตรกรรม ขบวนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก อาจมีการไถพรวนดินเศษพืชบางส่วนอาจถูกพัดพาไปโดยอิทธิพลของน้ำและปัจจัยอื่นๆ ให้ตกลงสู่แหล่งน้ำ และก่อให้เกิดตะกอน หรือของเน่าเสีย ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดน้ำเน่าเสียขึ้นอีกเช่นเดียวกัน สำหรับขบวนการเพาะปลูกอาจต้องมีการใช้ปุ๋ยหรือสารวัตถุมีพิษ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูกเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ย่อมมีโอกาสที่จะถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้ำได้ โดยขบวนการชะล้างของฝนหรือน้ำชลประทาน ส่วนขบวนการเก็บเกี่ยวก็อาจเริ่มต้นจากมีบางส่วนของพืชผล ถูกเคลื่อนย้ายลงสู่แหล่งน้ำโดยความตั้งใจ เช่น การทำความสะอาดพืชผลในเบื้องแรก การแช่ล้างเพื่อขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการบางอย่างให้หลุดออกไปจากพืชผล สารพิษ รวมถึงสิ่งปฏิกูลต่างๆ จะหลุดลอยลงสู่แหล่งน้ำได้ หรืออาจจะโยนเศษวัสดุเหลือใช้ลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง เพราะไม่ต้องการสิ่งเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นความมักง่ายของผู้กระทำ ดังจากรายการผลการวิเคราะห์ของกองวัตถุมีพิษในตาราง อีกประเด็นหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขบวนการผลิตโดยตรง เช่น การเพาะปลูกพืชน้ำ ได้แก่ ผักกระเฉด ผักบุ้ง เป็นต้น จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งอาจเกิดขึ้นจากการชำระล้างเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรซึ่งจะพบมีสิ่งสกปรกและสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย รวมไปถึงการถ่ายเทมูลสัตว์ การชำระล้างร่างกายสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ ก็ทำให้น้ำสะอาดเกิดการเสื่อมคุณภาพได้อีกเช่นกัน


4.การทำเหมืองแร่
เหมืองฉีดเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำขุ่น และมีตะกอนในแม่น้ำลำธาร กองเศษหินและแร่ อาจถูกชะล้างไหลลงสู่ลำธาร นอกจากนี้ถนนที่ตัดเข้าไปในเหมืองเพื่อสะดวกในการขนส่งลำเลียงแร่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดินพังทลายได้และพวกโรงงานถลุงแร่ที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำก็อาจทำให้น้ำสกปรกได้ โดยการทิ้งขยะมูลฝอยหรือ แร่ลงในลำน้ำ ทำให้คุณภาพเสื่อม ส่วนเหมืองขุดทำให้ดินตามชายฝั่งพังทลายลงเกิดตะกอน ทำให้ลำธารตื้นเขิน การทำเหมืองนอกจากจะทำความเสียหายแก่แหล่งน้ำแล้ว ยังทำให้พื้นที่ในบริเวณนั้นเสียหายไปด้วย เนื่องจากต้องโค่นต้นไม้ในบริเวณนั้นออกหมด กิจกรรมเหมืองแร่มีความขุ่นข้นและมีความเป็นกรด เป็นด่าง จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและร่างกายมนุษย์

5.การก่อสร้างต่างๆ
การตัดถนน สร้างบ้าน สร้างเขื่อน ต้องปรับดินให้เรียบโดยใช้รถไถและบดให้เรียบหรือใช้รถตักดินส่วนหน้าออก เหล่านี้เป็นตัวการทำให้ดินถูกรบกวนง่ายต่อการพังทลายทำให้เกิดตะกอนในลำธารมากขึ้น


6.การสาธารณสุข
สถานที่บำบัดรักษาทางด้านสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือ คลินิก อาจปล่อยน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคประเภทต่าง ๆ เข้าสู่แหล่งน้ำเสอม ถึงแม้ว่าจะได้มีการควบคุมและทำความสะอาดน้ำทำการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งก็ตาม แต่ก็ยังมีรายงานทั้งในและต่างประเทศพบว่า มีเชื้อโรคปะปนมากับน้ำเสีย เช่น บิด อหิวาต์ ไทฟอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดต่างๆ ทั้งของแข็งและของเหลว ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันทางกายภาพและเคมีปะปนผสมร่วมมาด้วย เช่นกัน


7.ฟาร์มปศุสัตว์
ได้แก่การเลี้ยง หมู ไก่ โค กระบือ บ่อปลา เศษอาหารที่เหลือ และมูลสัตว์ที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่มักจัดพื้นที่ให้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะสะดวกต่อสัตว์ที่จะดื่มน้ำได้ง่าย แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นมีอยู่ด้วยกันสามประการคือ ประการแรกสัตว์จะถ่ายของเสียลงสู่แหล่งน้ำทำให้เกิดการเน่าเสียได้ โดยเฉพาะถ้ามีสัตว์เป็นจำนวนมากแล้วก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ประการที่สองสัตว์อาจแทะเล็มกินหญ้า จนทำให้ความสามารถในการคลุมดินของหญ้าลดลง การพังทลายของดินก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วยอิทธิพลของกระบวนการชะล้าง ทั้งอนุภาคดินและของเสียทั้งหลาย จะเคลื่อนย้ายตัวลงสู่แหล่งน้ำได้โดยตรง ในประการสุดท้ายนั้น การมีสัตว์เข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ใดๆ อาจจะมีผลส่งเสริมทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ เพราะสาเหตุของโรคบางชนิดเกิดจากสัตว์เป็นแหล่งแพร่เชื้อ ( host ) เมื่อสัตว์ถ่ายมูลอาจนำเชื้อโรคเข้าสู่แหล่งน้ำ หรือคนรับประทานเนื้อสัตว์ก็จะได้รับเชื้อโรคติดต่อกันไปอีกต่อหนึ่ง

บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ สัตว์จะเข้าไปเหยียบย่ำดินทำให้ง่ายต่อการพังทลาย เมื่อสัตว์ถ่ายมูลก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย เมื่อน้ำชะลงแหล่งน้ำก็จะเสื่อมคุณภาพ พวกเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ก็ถ่ายน้ำเสียไปในแม่น้ำลำคลอง

สำหรับมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเลี้ยงสุกร ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์จากมูลสัตว์

การระบายน้ำทิ้งจาก บ่อเลี้ยงปลา จาก นากุ้ง ทำให้น้ำเน่าเสีย แหล่งน้ำตื้นเขินและเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคอีกด้วย การเลี้ยงวัว จำนวนมากในทุ่งหญ้าทำให้หน้าดินไม่มีพืชปกคลุม เกิดการชะล้างพัดพาหน้าดินลงสู่แหล่งน้ำ การเลี้ยงเป็ด ไก่ ของเสียจากการเลี้ยงสัตว์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ( anaerobic bacteria) ที่จะทำให้น้ำเสีย


8.การพักผ่อนหย่อนใจ
ความสกปรกของน้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น การโยนเศษวัตถุ เศษสิ่งของลงสู่แม่น้ำลำคลอง การลอยกระทงแล้วทิ้งให้ลอยเกะกะอยู่ในน้ำหรือการถ่ายเทของเสียออกไปจากสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนสัตว์ สถานเริงรมย์ สนามเด็กเล่น สนามกอล์ฟ ล้วนทำให้น้ำสกปรกแทบทั้งสิ้น นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อแหล่งน้ำ

9.น้ำเสียจากที่กำจัดขยะมูลฝอย
เทศบาลมักนำขยะไปกองทิ้งไว้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรับผิดชอบ จึงเป็นแหล่งน้ำเสียที่สำคัญ เป็นที่รวมของเศษอาหาร ของเน่าเสีย เชื้อโรค สารพิษ เมื่อฝนตกก็ชะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ซึมสู่ใต้ดิน

10.น้ำเสียจากแหล่งอื่นๆ
จากการล้างถนน แพปลา ท่าเรือประมง การบริการ การก่อสร้าง การรื้อถอน การคมนาคมทางน้ำ พวกเรือติดเครื่องยนต์อาจมีน้ำมันรั่วออกมา อาจทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมได้ พวกที่ใช้เรือ แพ เป็นที่อยู่อาศัย มักถ่ายอุจจาระ ทิ้งขยะ เศษสิ่งของต่างๆ ลงน้ำ


ที่มา : http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น